Aug 22, 2012

อะไรคือ Y Combinator

ถึงตอนนี้เราคงทำ recursion บน lambda เป็นกันแล้ว (ถ้ายังไม่เป็น แนะนำให้อ่านตอนก่อน)

กลับไปดูอีกรอบ จะเห็นว่าตอนเรียก recursion ต้องใส่ชื่อฟังก์ชันตัวเองลงไปเป็นตัวแปรหนึ่งเสมอ
lambda f, x: 1 if x == 0 else x * f(f, x-1)
แล้วถ้าเราไม่อยากทำอย่างนี้หละ อยากจะเรียกแค่ f(x-1) เหมือนการเรียกใช้งานฟังก์ชันตามปรกติทั่วไป จะทำได้มั้ย?

ถอยหนึ่งก้าว กลับไปเขียน factorial แบบธรรมดาๆ ก่อน
f = lambda x: 1 if x == 0 else x * f(x-1)
ฟังก์ชันนี้ยังคงสามารถเรียกใช้ได้ เนื่องจากว่าเราจองชื่อ f ไว้ให้มันแล้ว (ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการ) นั่นหมายความว่าชื่อ f ต้องมีปรากฏอยู่ใน scope นี้จึงจะทำ recursion ได้ และมันมีอีกวิธีนึงที่จะทำให้ f ปรากฏอยู่ภายใน scope นี้โดยไม่ต้องจองชื่อหรือส่งผ่านเป็นตัวแปรใน scope เดียวกัน คือ
lambda f: lambda x: 1 if x == 0 else x * f(x-1)
แต่การประกาศเช่นนี้จะทำให้เราไม่สามารถใช้ฟังก์ชันได้ทันที เพราะเราต้องเอาฟังก์ชั่นนี้ส่งไปเป็นตัวแปรให้ตัวมันเองเรื่อยๆ เช่น ถ้าต้องการหา 5 factorial ต้องเขียนออกมาอย่างนี้
(lambda f: lambda x: 1 if x == 0 else x * f(x-1))(
  (lambda f: lambda x: 1 if x == 0 else x * f(x-1))(
    (lambda f: lambda x: 1 if x == 0 else x * f(x-1))(
      (lambda f: lambda x: 1 if x == 0 else x * f(x-1))(
        (lambda f: lambda x: 1 if x == 0 else x * f(x-1))(
          (lambda f: lambda x: 1 if x == 0 else x * f(x-1))(
            (lambda whatever: 42)
          )
        )
      )
    )
  )
)(5)
นั่นหมายความว่าเราต้องการอะไรซักอย่าง ที่จะทำหน้าที่ generate ฟังก์ชันของเรานี้ออกมาเรื่อยๆ ไม่ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นก็ตาม นี่คือแนวคิดของ fixed-point combinator โดยมีตัวหนึ่งที่เป็นมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันมากคือ Y combinator ซึ่งเขียนได้ดังนี้
Y = lambda f: (lambda x: f(lambda v: x(x)(v)))(lambda x: f(lambda v: x(x)(v)))
(นิยามเต็มๆ คือ Y = λf.(λx.f (x x)) (λx.f (x x)) ซึ่งไม่จำเป็นต้องติดตัวแปร v มาด้วย)

ลองมาสำรวจการทำงานของมันดีกว่า จะเห็นได้ว่า
Y(g)(n)
-> (lambda f: (lambda x: f(lambda v: x(x)(v)))(lambda x: f(lambda v: x(x)(v))))(g)(n)
   # reduce: g -> f
-> (lambda x: g(lambda v: x(x)(v)))(lambda x: g(lambda v: x(x)(v)))(n)
   # reduce: (lambda x: g(lambda v: x(x)(v))) -> x
-> g(lambda v: (lambda x: g(lambda v: x(x)(v)))(lambda x: g(lambda v: x(x)(v)))(v))(n)
   # reduce: n -> v
-> g((lambda x: g(lambda v: x(x)(v)))(lambda x: g(lambda v: x(x)(v)))(n))
   # for inner g function, expand back to lambda: f <- g
-> g(lambda f: (lambda x: f(lambda v: x(x)(v)))(lambda x: f(lambda v: x(x)(v)))(g)(n))
   # by definition
-> g(Y(g)(n))
   # thus
-> g(g(Y(g)(n)))
-> g(g(g(Y(g)(n))))
-> g(g(g(g(...))))
วิธีเอามาใช้งานก็ไม่ยุ่งยาก เพียง
(lambda f: (lambda x: f(lambda v: x(x)(v)))(lambda x: f(lambda v: x(x)(v))))(  # Y-comb
  lambda f:                                  # recursive function name
    lambda x: 1 if x == 0 else x * f(x-1)    # recursive function definition
  )(5)                                       # recursive function argument
ลองเปลี่ยนมาหา fibonacci บ้าง ก็ง่ายนิดเดียว
(lambda f: (lambda x: f(lambda v: x(x)(v)))(lambda x: f(lambda v: x(x)(v))))(
  lambda f:
    lambda x: x if x <= 1 else f(x-1) + f(x-2)
  )(5)
ง่ายจริงป่ะ?

No comments:

Post a Comment