Nov 30, 2012

เปลี่ยนค่าตัวแปรใน Haskell

ใน ghci ถ้าเราลองทำอย่างนี้
let x = 10
let x = x + 1
กด Enter แล้วจะพบ prompt รอทำงานต่อ ถึงตอนนี้อาจคิดว่าไม่มีปัญหาหนิ แต่อย่าลืมว่า Haskell เป็น lazy language ดังนั้นต้องเรียก x ออกมาดูค่าด้วย

... แล้วเราก็จะพบกับความว่างเปล่า เฮ้ยทำไมแค่บวกเลขง่ายๆ มันถึงคิดช้าจังฟระ

นั่นเป็นเพราะว่ารูปด้านบนนี้เป็น recursive ตอนที่จะ eval ค่า x + 1 ด้านขวามือออกมา มันจะไปเรียกดู definition ของ x ซึ่งก็คือ x + 1 นั่นเอง (ลืมไปได้เลยว่าเราเคยบอกให้ x = 10)

อย่างไรก็ตาม ถ้าเราเปลี่ยนไปเขียนแบบนี้
let x = 10
let y = x + 1
let x = y
เวลาเรียก x เราจะได้คำตอบที่ถูกต้องคือ 11 แล้วครับ



แต่ถ้าทำท่าข้างบนนี้ มันก็คงบาปพอๆ กับ
word = "abracadabra"
for i in range(len(word)):
    print(word[i])
ใน Python นั่นแหละ :P



ดังนั้น Haskell จะเลี่ยงไปใช้ Monad แทน
x <- return 10
x <- return (x + 1)
ดูเผินๆ เหมือนว่าเราจะเปลี่ยนค่าตัวแปร x ได้ แต่ที่จริงแล้วสองบรรทัดข้างบนนี้จะเทียบเท่ากับ
return 10 >>= \x -> return (x + 1) >>= \x -> return x
นั่นหมายความว่า แรกสุดเราเอาค่า 10 ส่งให้ฟังก์ชั่นที่รับตัวแปร 1 ตัว โดยฟังก์ชั่นนี้อ่านชื่อตัวแปรที่รับมาว่า x แล้วจึงคำนวณ x + 1 เรียบร้อยแล้วก็ส่งต่อค่าที่คำนวณได้ไปให้ฟังก์ชั่นอีกตัว ที่รับตัวแปร 1 ตัวและอ่านชื่อตัวแปรนั้นว่า x เช่นกัน

จะเห็นว่าแท้จริงแล้วเราไม่ได้เปลี่ยนค่าของตัวแปรเลย มันเป็นเพียงการส่งต่อค่าที่คำนวณแล้วให้ฟังก์ชันอื่นไปเรื่อยๆ โดยที่ฟังก์ชั่นเหล่านั้นบังเอิญเรียกชื่อตัวแปรเหมือนกันเท่านั้นเอง

Nov 21, 2012

สวัสดีโลก!

สืบเนื่องจากวันนี้เป็นวัน World Hello Day ที่แนะนำให้ออกไปทักทายกับคนอื่นๆ อย่างน้อย 10 คน ... พอดีเห็นชื่อกิจกรรมมันสวยดี เลยอยาก say hello บ้าง

เริ่มดัวยทักทายกับ C

#include <stdio.h>

int main(void) {
    printf("Hello, world!\n");
    return 0;
}

จะเห็นว่า C เป็นภาษาที่มี boilerplate เยอะพอสมควร แต่ก็น่าจะแพ้ภาษาถัดมาอย่าง Java

public class IJustWannaSayHelloWhyINeedToNameThis {
    public static void main(String[] args) {
        System.out.println("Hello, world!");
    }
}

ส่วน C++ นั้นจะต่างออกไป ตรงที่มองข้อความที่จะพิมพ์ในรูปของ stream

#include <iostream>
using namespace std;

int main() {
    cout << "Hello, world!" << endl;
    return 0;
}

ย้ายมาดูฝั่งภาษาขั้นสูง ซึ่งเป็นที่นิยมสำหรับคนทำ web อย่าง PHP บ้าง

<?='Hello, world!'?>

สั้นดี แต่ถ้าไม่รู้จักกันมาก่อนนี่คงงงไปพักใหญ่ เทียบไม่ได้กับ Python ที่เน้นเรื่อง readability สุดๆ

print 'Hello, world!'

ลองมาดูภาษาที่หลายคนคงมึนใน syntax อย่าง Common LISP

(write-line "Hello, world!")

นอกจากจะจัดวงเล็บประหลาดแล้ว ชื่อฟังก์ชันยังประหลาดกว่าชาวบ้านเค้าด้วย ... แต่นี่ก็คงไม่ประหลาดเท่าแนวคิดที่ว่า ตัวแปรไม่สามารถเปลี่ยนค่าได้ใน Haskell

main = do
    putStrLn "Hello, wolrd!"

อันที่จริง ภาษาขั้นสูงก็ควรจะช่วยโปรแกรมเมอร์ให้ทำงานได้ง่ายขึ้นอยู่แล้ว เพราะถ้าเจอแบบ Brainfuck เข้าไปคงมึน

++++++++++ [>+++++++>++++++++++>+++>+<<<<-]
    >++.>+.+++++++..+++.>++.
    <<+++++++++++++++.>.+++.------.--------.>+.>.

แต่ถ้า obfuscate แล้วสวยงามอย่างนี้ก็ยอมนะ (จาก Piet Program Gallery)


สวัสดีกันมาตั้ง 9 ครั้งแล้ว ครั้งที่เหลือก็ลองออกไปค้นหาสิ่งใหม่ๆ ดูบ้างนะฮะ

Nov 20, 2012

Topology 101: กลับด้านในของลูกบอลออกมา

ในวิชา topology มันมีบทพิสูจน์หนึ่งที่ไม่น่าเชื่อเอาซะมากๆ นั่นคือ เราสามารถกลับด้านเอาด้านในของลูกบอลออกมาด้านนอกได้ (Smale's paradox)



เอ่อ มันทำได้จริงแฮะ

Nov 5, 2012

คิดเองมั่งดิ

P: เราชอบเธอจริงๆ นะ ตอนนี้เราก็ยังชอบอยู่

A: รู้แล้ว

P: แล้ว...

A: คิดเองมั่งดิ >\\\<

P: ^___^

ว่าแต่ทำไมชีวิตจริงมันไม่เป็นงี้มั่งนะ