น่าเสียดายนะครับ ชีวิตคนเรานี้มันสั้นสิ้นดี
อย่าว่าแต่หนังสือในห้องสมุดทั้งหมดที่ไม่มีทางอ่านครบเลย แค่หนังสือเล่มเดียวที่อ่านก็ไม่แน่ว่าเราจะเก็บประเด็นอะไรได้หมด
ร้ายสุดคือหนังสือที่ไม่ใช่ข้อสรุปเชิงวิทยาศาสตร์ แต่เป็นสันนิษฐานที่เป็นไปได้ที่ยังต้องการข้อมูลมากกว่านี้มาสนับสนุนความคิด แบบนี้ผู้เขียนแต่ละคนก็เขียนมาได้หลายร้อยพันแบบเลย
การที่คนสองคนมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน มันจึงไม่แปลกถ้าจะเข้าใจไม่ตรงกัน เพราะเราอ่านหนังสือกันมาคนละเล่ม หรือถึงแม้จะอ่านเล่มเดียวกันก็อาจเข้าใจไม่ตรงกัน
ดังนั้นเวลาคุยกันไม่รู้เรื่อง การไล่ไปหาหนังสืออ่านเองในห้องสมุด ผมว่ามันเสียมารยาทมากๆ นะ
อย่างน้อยก็บอกมาหน่อยว่าต้องหยิบหนังสือเล่มไหน ใจความสำคัญอยู่หน้าที่เท่าไหร่
hint: ลองเปลี่ยนคำว่าห้องสมุดเป็น Google
Aug 29, 2014
Aug 26, 2014
O Mio Babbino Caro
พอดี @isamare แนะนำวิชา Listening to Music มาครับ ก็นั่งดูไปเรื่อยๆ ด้วยความสนุกสนาน จนถึงตอนนึงอาจารย์ Craig Wright เล่าเหตุการณ์ในบ้านแกให้ฟังว่า
อาจารย์: (นั่งเล่นเปียโนอย่างสบายอารมณ์)
ลูกชาย: เพลงนี้เพราะมากเลยนะพ่อ
อาจารย์: โอ้ ให้มันได้อย่างนี่สิลูกชายฉัน (คงตัวลอยฝันไปไกลว่าลูกโตขึ้นเป็นนักดนตรีตามรอยตัวเองแน่ๆ 555)
ลูกชาย: ได้ยินมาหลายครั้งละใน Grand Thief Auto เพลงนี้เพลงอะไรครับพ่อ?
อาจารย์: เดี๋ยวก่อนนะ ... อะไรคือ Grand Thief Auto???
จุดเด่นของเพลงนี้ที่อาจารย์แกยกมาเล่าเรื่องเมโลดี้ครับ ปรกติเพลงร้องมักจะค่อยๆ ไล่โน้ตไปทีละขั้นสองขั้น แต่เพลงนี้กลับใช้การกระโดด 1 octave เลยทีเดียว
อาจารย์: (นั่งเล่นเปียโนอย่างสบายอารมณ์)
ลูกชาย: เพลงนี้เพราะมากเลยนะพ่อ
อาจารย์: โอ้ ให้มันได้อย่างนี่สิลูกชายฉัน (คงตัวลอยฝันไปไกลว่าลูกโตขึ้นเป็นนักดนตรีตามรอยตัวเองแน่ๆ 555)
ลูกชาย: ได้ยินมาหลายครั้งละใน Grand Thief Auto เพลงนี้เพลงอะไรครับพ่อ?
อาจารย์: เดี๋ยวก่อนนะ ... อะไรคือ Grand Thief Auto???
จุดเด่นของเพลงนี้ที่อาจารย์แกยกมาเล่าเรื่องเมโลดี้ครับ ปรกติเพลงร้องมักจะค่อยๆ ไล่โน้ตไปทีละขั้นสองขั้น แต่เพลงนี้กลับใช้การกระโดด 1 octave เลยทีเดียว
Subscribe to:
Posts (Atom)