9/3(2+1) = ?
จะตอบโดยไม่ลังเลเลยว่า 1 แถมถ้าใครมาบอกว่าต้องคิดหารทางด้านซ้ายมือ แล้วค่อยมาคูณแบบคอมพิวเตอร์นะ จะตอบกลับไปเลยว่ามัน
syntax error
โว้ย ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ไหนเค้ายอมรับการเขียนเลขติดกันว่าเป็นการคูณเลขบ้าง?อนึ่ง ถ้ามองว่าการเขียนเลขติดกัน (คั่นด้วยวงเล็บ) เป็นการคูณจริงๆ ตัวที่ติดกับวงเล็บก็ต้องมี precedence สูงกว่า (ทำงานก่อน) เครื่องหมายหารอยู่แล้ว นั่นหมายความว่าต้องคิดส่วน
3(2+1)
ให้เสร็จก่อนเอาไปคำนวณต่ออยู่ดีเจอบ่อยๆ ก็เริ่มขี้เกียจอธิบาย เลยเขียนโปรแกรมที่มันแปลสมการด้านบนนี้ได้ถูกต้องเลยละกัน -> จิ้มโลด
ตัวอย่างผลลัพท์จากโปรแกรม
>>> 9/3(2+1) 1.0 >>> a, b, c, d = 48, 2, 9, 3 >>> a/b(c+d) 2.0 >>> 10(9(8(7(6(5(4(3(2(1))))))))) 3628800 >>> (1+2j)(3-4j) (11+2j) >>> 1 + 1/phi 1.618033988749895 >>> phi(43) 42
อันที่จริงก็คิดว่าจะทำมาได้ซักพักละ แต่ด้วยความที่ขี้เกียจวางกฎ grammar ด้วย flex bison ทั้งที่หลายๆ กฎนั้นภาษาส่วนใหญ่ก็ทำไว้ให้แล้ว เลยดองมาเรื่อยๆ จนทำ Infinite List เสร็จ และไปเจอ Python's Magic Methods เลยได้ฤกษ์เริ่มจากตรงนั้น
แนวคิดก็ง่ายนิดเดียว แค่เพิ่มเมธอด
__call__
เข้าไปให้ class ของตัวเลข (เป็น Monkey Patching เหมือนใน Ruby) โดย define มันกว่าถ้าเรียก a.__call__(b)
แล้วจะมีค่าเท่ากับเอามันมาคูณกันซะปัญหาที่ต้องไล่เก็บก็คือ
- Python ไม่อนุญาติให้แก้ไขพวก
builtins
-- ที่จริงปัญหานี้ก็เหมือนกับคราวที่ทำ Infinite List นั่นแหละ ซึ่งแก้ไม่ยาก แค่ inherit class นั้นๆ ออกมาแล้วไล่ define magic method ซะ - ปัญหาจริงๆ คือ Python parser มันจะแปลตัวเลขไปเป็น class ตัวเลขใน
builtins
เท่านั้น ดังนั้นก็ต้องแปลง token เองโดยหาว่าตรงไหนคือเลข แล้วก็เอา class ตัวเลขที่ inherit มาแล้วครอบไว้ - งานนี้ได้โมดูล tokenize มาช่วยแปลตัวเลขให้ ไม่ต้องเขียน regex เอง เพราะมันจะมีท่าประกาศตัวเลขประหลาดๆ ทำให้ tokenize เองพลาดได้
- ที่เหลือก็เอา code ที่แก้ token เรียบร้อยไปทำงาน ตรงนี้ดึงโมดูล
code
ที่ทำทุกอย่างเตรียมไว้แล้วมาใช้ฟังก์ชันเดียวจบ - แต่ตอนที่เอา
tokenize
มาใช้ร่วมกับcode
จะมีปัญหาที่พิมพ์ได้ทีละบรรทัด เนื่องจากtokenize
มันปรับแต่งอะไรไม่ได้เลย ก็ต้องหลอกมันเอานิดหน่อย - ครบถ้วนกระบวนความแล้วก็ clean up โดยจุดที่เอา code ออกไปได้เยอะมากๆ คือส่วน define magic method อันนี้ใช้ meta-programming บอกแค่ว่าจะเพิ่ม method ไหนบ้างก็พอ แล้วปล่อยให้มัน generate ตัวเองไปซะ
- อยู่ๆ ก็เขียน function decorator เป็นเฉยเลย งงตัวเอง 555+
φ
(phi) ที่อาจหมายถึง golden radio หรือ Euler's totient ก็ได้ ซึ่งแม้ว่าทั้ง 2 รูปของ φ
นี้จะไม่ overlap กัน (เช่น 1+1/φ
จะถูกมองว่าเป็นตัวเลข ในขณะที่ φ(43)
คือการใช้ฟังก์ชัน) แต่ด้วยความที่ Python เป็น 1st class function ที่ยอมให้เราส่งผ่านฟังก์ชันเป็นตัวแปรของฟังก์ชันอื่นๆ ได้ ดังนั้นถ้าเราเจออะไรอย่าง δ(φ,ε)
เราจะไม่สามารถแน่ใจได้เลยว่า φ
ในบริบทนี้คืออะไรครับ
I think Mathematics is just a set of rules with states na ja.
ReplyDeleteTherefore, it is not fair to solve a question without defining a set of rules, first.
This renders this question irrelevant, as people use different set of rules.
The very famous question posed here causes thousands of people to argue with each other. They don't even realize that they have different assumptions about Mathematics' rules (around Precedence).
Based on their own assumptions, their solutions are correct.