ในความเป็นจริงนั้น แต่ละวัฒนธรรมย่อมเลือกใช้สิ่งที่เหมาะสมกับตัวเองที่สุด เช่นประเทศไทยเราบอกปีเป็นพุทธศักราช อเมริกาใช้เดือนนำหน้าวัน อินเดียมีการนับวันในเดือนที่แตกต่างออกไป ไปจนถึงเหล่านักดาราศาสตร์ที่นับแค่วันเพียงอย่างเดียวบนปฏิทิน
อีกทั้งการป้อนข้อมูลผ่านคีย์บอร์ดยังไม่รองรับความผิดพลาดของข้อมูล ไม่ว่าทั้งการพิมพ์ผิด-ตกหล่น (syntactic error) หรือใส่วันที่เกินกว่าที่เดือนนั้นจะมีได้ (semantics error)
การบังคับป้อนข้อมูลด้วยวิธีการเฉพาะสำหรับข้อมูลนั้นๆ จึงเป็นสิ่งที่ควรทำเสมอ ดังตัวอย่างนี้
ภายใต้วัฒนธรรมคีย์บอร์ด+เมาส์ การป้อนข้อมูลด้วยวิธีข้างต้นก็ดูเข้าท่าดี แต่สำหรับมือถือจอสัมผัส (ที่หลายคนเลือกที่จะไม่พิมพ์ถ้าเป็นไปได้) เรามีวิธีที่แตกต่างออกไป
การป้อนวันเวลาในยุคแรกๆ ของ Android ผ่าน DatePicker (ฟังก์ชันมาตรฐานสำหรับป้อนข้อมูลวันเวลา) ที่ไม่ค่อยจะเป็นมิตรกับระบบสัมผัสซักเท่าไหร่ ด้วยปุ่มคลิกขึ้น/ลงที่ทำงานทีละขั้น หรือต้องกดค้างสำหรับการเลื่อนผ่านข้อมูลให้เร็วขึ้น (แบบเดียวกับนาฬิกาข้อมือเลย)
โชคดีที่ Android ยกเครื่องศัลยกรรมหน้าตาใหม่หมด (ช่วง Jelly Bean) ทำให้ DatePicker ตัวนี้ดูดีขึ้นมากภายใต้หน้าตาเดิมๆ (มีผลกับการปรับตัวของผู้ใช้ส่วนใหญ่) ด้วยการเลือกวันโดยใช้การเลื่อนขึ้น/ลงแทน แถมยังสามารถเลื่อนแบบมีแรงเฉื่อยเพื่อกระโดดข้ามชุดข้อมูลได้อีกด้วย
และแบบใหม่ล่าสุด เจอใน Google Keep (อาจจะกลายเป็น official ถัดไป) ออกแบบมาอย่างสวยงาม แม้จะหน้าตาจะเปลี่ยนไปบ้าง แต่ก็ยังคงความง่ายในการใช้งานอยู่
บล๊อกตอนนี้ไม่มีอะไร เห็นของสวยเลยมาอวยเฉยๆ :P
No comments:
Post a Comment