table: students ------+------+------- name | subj | grade ------+------+------- bar | code | A foo | code | C+ foo | trek | A qux | code | B+ qux | math | A qux | trek | A ------+------+------- table: colleges -----------+------ campus | subj -----------+------ leetademy | code leetademy | trek hack-cool | code hack-cool | math -----------+------คำสั่ง SQL ของการหารก็จะมีหน้าตาประมาณ
SELECT * FROM students DIVISION ( SELECT subj FROM colleges WHERE campus = 'leetademy' ) AS leetademy_coursesซึ่งให้ผลลัพท์ออกมาคือ
------ name ------ foo qux ------
ปัญหาของการหารคือ DBA แทบทั้งหมดไม่มีคำสั่งนี้ให้ใช้ (ต่างจากการลบ (MINUS) ที่ยังมีบ้าง แม้บางเจ้าจะเปลี่ยนชื่อเป็น EXCEPT ก็ตาม) เพราะมันเป็นท่าที่เปลืองทรัพยากรมาก แถมไม่ได้ใช้กันบ่อยๆ เสียด้วย ...ซึ่งจะว่าไปแล้วมันก็ดูไม่ใช่ปัญหาเลยนี่หน่า
อย่างไรก็ตามปัญหาจริงๆ คือมันเป็นท่าที่อาจารย์ database ส่วนใหญ่ชอบเอาไปออกสอบ ทำให้เราต้องหาท่าอ้อมๆ ที่ให้ผลลัพท์แบบเดียวกันมาใช้แทน
การจะเข้าใจมันได้ ถ้าคิดแบบ programming ก็แค่ดูว่า set ที่เป็นตัวตั้งหารนั้นเป็น superset ของ set ที่ถูกหารหรือเปล่า
students_set = defaultdict(set) for name, subj, grade in students: students_set[name].add(subj) colleges_set = defaultdict(set) for campus, subj in colleges: colleges_set[campus].add(subj) output = set() for name, subj_set in students_set.items(): if subj_set >= colleges_set['leetademy']: output.add(name) print(output)แต่การทำงานบน database เรามักเขียนพวกนี้ทั้งหมดให้เป็น one-liner เพื่อที่จะรับประกันว่าระหว่างการ query จะไม่เกิด race condition กับ query อื่นๆ สิ่งที่ต้องทำก่อนอื่นใดคือพยายามกำจัดการสร้าง set ของข้อมูลล่วงหน้าซะ
ในที่นี้ ขั้นแรกเราจะกำจัดการสร้าง
colleges_set
โดยวน loop ใน colleges
ทุกตัวดูว่าแต่ละ subj
มีใน students_set
หรือเปล่าdef learnt_all(name): for campus, subj in colleges: if campus == 'leetademy': if subj not in students_set[name]: return False return True output = set() for name, _, _ in students: if learnt_all(name): output.add(name) print(output)ขั้นต่อมาก็กำจัด
students_set
โดย loop เข้า students
ดูว่านักเรียนที่ชื่อ name
ได้เรียนวิชา subj
แล้วหรือยังdef learnt(name, subj): for student_name, student_subj, _ in students: if student_name == name and student_subj == subj: return False return True def learnt_all(name): for campus, subj in colleges: if campus == 'leetademy': if learnt(name, subj): return False return True output = set() for name, _, _ in students: if learnt_all(name): output.add(name) print(output)เนื่องจากในฟังก์ชัน
learnt
กับ learnt_all
จะคืนค่า False
ทันทีที่เข้าเงื่อนไขครบ แต่จะคืนค่า True
หลังจากจบ loop เท่านั้น เราสามารถเขียนตรงนี้ใหม่ด้วย generator แล้ว wrap ด้านนอกด้วย not any(...)
เช่นนี้def inverse_learnt(name, subj): for student_name, student_subj, _ in students: if student_name == name and student_subj == subj: yield True def inverse_learnt_all(name): for campus, subj in colleges: if campus == 'leetademy': if not any(inverse_learnt(name, subj)): yield True output = set() for name, _, _ in students: if not any(inverse_learnt_all(name)): output.add(name) print(output)พอทุกอย่างเป็น single-statement และ generator คราวนี้ก็ง่ายที่จะทำ one-liner แล้ว ... จับมาเขียนสวยๆ ได้แบบนี้
print({ name for name, _, _ in students if not any( True for campus, subj in colleges if campus == 'leetademy' and not any( True for student_name, student_subj, _ in students if student_name == name and student_subj == subj ) ) })เห็น code นี้แล้วคงเดาได้ไม่ยากว่า พอเอาเขียนเป็น SQL คงหนีไม่พ้น
SELECT DISTINCT name FROM students AS s WHERE NOT EXISTS ( SELECT * FROM colleges AS c WHERE campus = 'leetademy' AND NOT EXISTS ( SELECT * FROM students AS ss WHERE ss.name = s.name AND ss.subj = c.subj ) )
อ้างอิง
- Steven Hauser: SQL Relational Algebra Examples
- Gregor Ulm: Relational Division in SQL The Easy Way
- Victor M. Matos; Rebecca Grasser (1995). "A Simpler (and Better) SQL Approach to Relational Division". Journal of Information Systems Education 13(2): 85–88. ISBN 0-471-18074-2.
No comments:
Post a Comment