เป็นเกมแบบเดียวกะ 2048 แหละครับ แค่เปลี่ยนจากตัวเลข ไปเป็นตึกแบบต่างๆ ไล่ลำดับแค่นั้นเอง
สนุกใช้ได้ครับ ภาพสวยไอเดียแจ่มด้วย แต่ช่วงแรกๆ ต้องจำรูปแบบตึกกันหน่อย ซึ่งเอาจริงๆ ก็ไม่ได้ยากอะไรมาก เพราะจะเล่นให้ถึง 2048 ก็จำตึกไป 10 แบบเอง (แบบแรกสุดที่เป็นฐานใช้รูปป่า -- ไม่นับนะ)
ส่วนวิธีคิดคะแนนจะต่างไปพอสมควร คือไม่ใช่คะแนนคูณสองไปเรื่อยๆ แล้ว แต่จะเพิ่มเป็นเส้นตรงครั้งละ 5 แทน
Oct 29, 2014
Oct 16, 2014
เปลี่ยน bio แล้ว
เมื่อก่อนรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนจับฉ่ายมาก เลยตั้ง bio ทุกที่ไว้ว่า jack of all trades. ครับ
เหตุผลอื่นๆ ก็คืออยากทำการหักล้างความเชื่อบางอย่างทางสังคมด้วย เห็นมาหลายที่เหลือเกินชอบบอกว่าตั้ง bio ให้ดูดีสิ บอกไปสิว่าเรียนจบที่ไหน ทำอะไร ใส่แท๊กด้วย บลาๆๆ จะได้มีคนมาตามเยอะๆ
ผลลัพธ์ก็พอโอเคนะ หักล้างได้ในระดับหนึ่งว่า bio ไม่ได้สำคัญไปทั้งหมด เคยถามคนที่มาตามบางคนก็บอกว่าไม่ได้อ่าน bio เราเลย (เพราะมันไม่บอกอะไรอยู่แล้ว?) สนใจแต่เรื่องที่ทวีตอย่างเดียว
ส่วนตอนนี้ก็เปลี่ยนไปเป็น insufficient data for meaningful answer. กำกวมกว่าเดิมอีก :P
เหตุผลอื่นๆ ก็คืออยากทำการหักล้างความเชื่อบางอย่างทางสังคมด้วย เห็นมาหลายที่เหลือเกินชอบบอกว่าตั้ง bio ให้ดูดีสิ บอกไปสิว่าเรียนจบที่ไหน ทำอะไร ใส่แท๊กด้วย บลาๆๆ จะได้มีคนมาตามเยอะๆ
ผลลัพธ์ก็พอโอเคนะ หักล้างได้ในระดับหนึ่งว่า bio ไม่ได้สำคัญไปทั้งหมด เคยถามคนที่มาตามบางคนก็บอกว่าไม่ได้อ่าน bio เราเลย (เพราะมันไม่บอกอะไรอยู่แล้ว?) สนใจแต่เรื่องที่ทวีตอย่างเดียว
ส่วนตอนนี้ก็เปลี่ยนไปเป็น insufficient data for meaningful answer. กำกวมกว่าเดิมอีก :P
Oct 12, 2014
เรื่องธรรมดา
วันก่อนไปทำแบบทดสอบไอคิวแบบกึ่งจริงจังมาครับ
ที่บอกว่า "จริงจัง" เพราะเป็นแบบทดสอบที่ต้องมีนักจิตวิทยาเป็นคนอ่านคำถามพร้อมเฝ้าสังเกตพฤติกรรมระหว่างทำ ส่วนตัวแบบทดสอบก็มีหัวข้อหลากหลายและไม่ได้มีแต่ชอยส์ให้เลือกว่าภาพไหนถูกเหมือนที่เคยทำเล่นในเน็ต
แต่ที่ว่า "กึ่ง" ก็เพราะนักจิตวิทยาที่มาคุมแบบทดสอบ คือเพื่อนนักศึกษาปีสาม ที่อาจารย์ให้ไปหาเหยื่อมาเพื่อฝึกฝีมือกับชุดทดสอบไอคิวแบบต่างๆ เวลาไปทำงานจริงจะได้ไม่ผิดพลาด
รายละเอียดการทดสอบผมคงเล่าไม่ได้เพราะติดสัญญาปกปิดข้อมูลไว้ บอกได้เพียงว่าเป็นแบบทดสอบ WAIS รุ่น 1 ที่แปลเป็นภาษาไทยแล้ว
ส่วนผลลัพธ์คือผมได้ค่าไอคิว 132 คะแนน เมื่อคำนวณเทียบตามอายุปัจจุบัน
ตอนที่เพื่อนคำนวณคะแนนเสร็จ ถึงขั้นตกใจว่าคะแนนสูงมาก ไม่เคยเจอสูงเท่านี้มาก่อน (บอกประมาณว่า "เกือบอัจฉริยะ")
ยอมรับนะว่าได้ยินก็แอบลอย ... แต่แค่แว๊บเดียวเท่านั้นแหละ หน้าเพื่อนๆ ร่วมห้องแลปก็ลอยมา
สำหรับพวกเค้าแล้ว ตัดคำว่า "เกือบ" นำหน้าทิ้งไป แล้วบอกตรงๆ ว่านี่คือ "อัจฉริยะ" ได้โดยไม่ต้องลังเล 555
ด้วยความอยากรู้อยากเห็น เลยกลับมาค้นข้อมูลดูจนพอจะสรุปได้ว่า แบบทดสอบมาตรฐานส่วนใหญ่ แม้กฎเกณฑ์การให้คะแนนจะต่างกันไปบ้าง แต่หลักคิดคือประชากรโลกมีจำนวนเยอะพอที่จะเอาหลักสถิติมาจับได้ เลยสร้างโมเดลไอคิวประชากรเป็นกราฟทรงระฆังคว่ำ ยืนพื้นที่ตัวเลข 100 คะแนนไว้ตรงกลาง แล้วให้การกระจายตัวที่ความเบี่ยงมาตรฐานหนึ่งหน่วย ตีเป็นคะแนนได้ 15 จุด
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ ถ้าสุ่มเลือกคนมา 100 คนแบบมั่วๆ จะพบคนที่มีไอคิวเกิน 130 (2 ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน) อยู่เพียง 2-3 คนเท่านั้น
ฟังดูแล้วตัวเลขนี้ก็ไม่ได้เยอะซักเท่าไหร่ ในรถไฟฟ้าหนึ่งตู้โดยสารที่มีแต่คนนั่งเต็มโดยไม่มีคนยืน อาจพบคนที่มีไอคิวสูงระดับนี้แค่หนึ่งคนเท่านั้น (ถ้าสมมติให้คนขึ้นรถไฟฟ้าเป็นการสุ่มมั่วโดยสมบูรณ์)
แต่โลกความจริงอาจไม่ง่ายเช่นนั้น ในมหาวิทยาลัยชื่อดังของประเทศที่คัดแต่หัวกระทิเข้ามาเรียน เราอาจเดินชนไหล่อัจฉริยะเหล่านี้เป็นว่าเล่นเลยก็ได้
ถึงจุดนั้น การมีไอคิวสูงก็ไม่ใช่เรื่องพิเศษแต่อย่างใด
ที่บอกว่า "จริงจัง" เพราะเป็นแบบทดสอบที่ต้องมีนักจิตวิทยาเป็นคนอ่านคำถามพร้อมเฝ้าสังเกตพฤติกรรมระหว่างทำ ส่วนตัวแบบทดสอบก็มีหัวข้อหลากหลายและไม่ได้มีแต่ชอยส์ให้เลือกว่าภาพไหนถูกเหมือนที่เคยทำเล่นในเน็ต
แต่ที่ว่า "กึ่ง" ก็เพราะนักจิตวิทยาที่มาคุมแบบทดสอบ คือเพื่อนนักศึกษาปีสาม ที่อาจารย์ให้ไปหาเหยื่อมาเพื่อฝึกฝีมือกับชุดทดสอบไอคิวแบบต่างๆ เวลาไปทำงานจริงจะได้ไม่ผิดพลาด
รายละเอียดการทดสอบผมคงเล่าไม่ได้เพราะติดสัญญาปกปิดข้อมูลไว้ บอกได้เพียงว่าเป็นแบบทดสอบ WAIS รุ่น 1 ที่แปลเป็นภาษาไทยแล้ว
ส่วนผลลัพธ์คือผมได้ค่าไอคิว 132 คะแนน เมื่อคำนวณเทียบตามอายุปัจจุบัน
ตอนที่เพื่อนคำนวณคะแนนเสร็จ ถึงขั้นตกใจว่าคะแนนสูงมาก ไม่เคยเจอสูงเท่านี้มาก่อน (บอกประมาณว่า "เกือบอัจฉริยะ")
ยอมรับนะว่าได้ยินก็แอบลอย ... แต่แค่แว๊บเดียวเท่านั้นแหละ หน้าเพื่อนๆ ร่วมห้องแลปก็ลอยมา
สำหรับพวกเค้าแล้ว ตัดคำว่า "เกือบ" นำหน้าทิ้งไป แล้วบอกตรงๆ ว่านี่คือ "อัจฉริยะ" ได้โดยไม่ต้องลังเล 555
ด้วยความอยากรู้อยากเห็น เลยกลับมาค้นข้อมูลดูจนพอจะสรุปได้ว่า แบบทดสอบมาตรฐานส่วนใหญ่ แม้กฎเกณฑ์การให้คะแนนจะต่างกันไปบ้าง แต่หลักคิดคือประชากรโลกมีจำนวนเยอะพอที่จะเอาหลักสถิติมาจับได้ เลยสร้างโมเดลไอคิวประชากรเป็นกราฟทรงระฆังคว่ำ ยืนพื้นที่ตัวเลข 100 คะแนนไว้ตรงกลาง แล้วให้การกระจายตัวที่ความเบี่ยงมาตรฐานหนึ่งหน่วย ตีเป็นคะแนนได้ 15 จุด
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ ถ้าสุ่มเลือกคนมา 100 คนแบบมั่วๆ จะพบคนที่มีไอคิวเกิน 130 (2 ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน) อยู่เพียง 2-3 คนเท่านั้น
ฟังดูแล้วตัวเลขนี้ก็ไม่ได้เยอะซักเท่าไหร่ ในรถไฟฟ้าหนึ่งตู้โดยสารที่มีแต่คนนั่งเต็มโดยไม่มีคนยืน อาจพบคนที่มีไอคิวสูงระดับนี้แค่หนึ่งคนเท่านั้น (ถ้าสมมติให้คนขึ้นรถไฟฟ้าเป็นการสุ่มมั่วโดยสมบูรณ์)
แต่โลกความจริงอาจไม่ง่ายเช่นนั้น ในมหาวิทยาลัยชื่อดังของประเทศที่คัดแต่หัวกระทิเข้ามาเรียน เราอาจเดินชนไหล่อัจฉริยะเหล่านี้เป็นว่าเล่นเลยก็ได้
ถึงจุดนั้น การมีไอคิวสูงก็ไม่ใช่เรื่องพิเศษแต่อย่างใด
Subscribe to:
Posts (Atom)