หลายคนคงคุ้นเคยกับคำพูดของ Descartes ที่ว่า Cogito ergo sum ในรูปของภาษาอังกฤษว่า I think, therefore I am มากกว่า
คำพูดด้านบนนั้น เกิดขึ้นเพื่อพยายามจะตอบคำถามว่า สิ่งใดบ้างที่เชื่อได้ว่ามีจริง?
ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องที่ไม่เห็นจำเป็นต้องถาม ทำไมจะเชื่อไม่ได้ว่าสิ่งต่างๆ ไม่มีจริงหละ?
ลองสมมติสิ่งที่อยู่ห่างไกลตัวเราออกไปก่อน อย่างเช่นหลุมดำมีจริงหรือเปล่า มองก็มองไม่เห็น นั่งยานอวกาศไปหาก็ไม่ได้ มันมีจริงหรือเปล่า?
แล้วสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเราขึ้นมาบ้างหละ อย่างเช่นคอมพิวเตอร์/มือถือที่ใช้เปิดอ่านบทความนี้ ลูกฟุตบอลที่เราเตะ เพลงที่เราฟังเป็นประจำ อาหารจานโปรดที่เราได้กลิ่นและลิ้มรส มันมีจริงหรือเปล่า?
แม้กระทั่งตัวเราเองหละ มือของเรานี้มีจริงหรือเปล่า? หรือเป็นเพียงแค่กระแสประสาทส่งเข้าสมองแบบในเรื่อง The Matrix เท่านั้น?
สุดท้ายเราจะเชื่ออะไรได้บ้างว่ามีจริง? ตอนนี้ Descartes ตอบไว้ได้อย่างน่าสนใจว่า อย่างน้อยๆ "การมีอยู่ของเรา" นั้นแหละ เป็นสิ่งที่มีจริงแน่นอน (เพราะเรากำลังคิดอยู่)
ส่วนวิธีการให้เหตุผลของ Descartes นั้นยิ่งบ้าบิ่นเข้าไปใหญ่ เมื่อเขาอธิบายว่า "เราจะหมดข้อสงสัยในเรื่องการมีอยู่ของเรา เมื่อเราสงสัยในเรื่องการมีอยู่ของเรา" (we cannot doubt of our existence while we doubt)
ฟังดูแล้วโคตรงง โคตร paradox เอาไปพูดกับพวกนักคณิตศาสตร์นี่โดนตบหัวตายเลย
แต่ถ้าลองคิดตามเรื่อยๆ จะพบว่าคำอธิบายข้างต้นที่ดูขัดแย้งในตัวเองนี้แหละ เป็นคำอธิบายที่เป็นเหตุเป็นผลที่สุดแล้ว
ถึงตอนนี้ก็พอจะเข้าใจะแล้วว่า ทำไมนักปรัชญาหลายคนเป็นบ้ากัน 555
No comments:
Post a Comment